ซิฟิลิสในปัจจุบัน พบมากที่สุดในกลุ่มวัยรุ่นช่วงมัธยมจนถึงมหาวิทยาลัย อายุระหว่าง 15-24 ปี เนื่องจากเป็นวัยเจริญพันธุ์ มีเพศสัมพันธ์เร็ว และยังขาดความเข้าใจเรื่องเพศศึกษา รวมถึงวัยรุ่นในปัจจุบันใช้ชีวิตที่อิสระมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของการมีเพศสัมพันธ์กับคนแปลกหน้าหรือเพศสัมพันธ์แบบคืนเดียว (One night stand) นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มวัยรุ่นใช้ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันโรคจากเพศสัมพันธ์น้อยมาก บางคนอาจคิดว่าตนไม่ใช่กลุ่มเสี่ยงเนื่องจากไม่ได้เปลี่ยนคู่นอนบ่อย จึงไม่ใช้ถุงยางอนามัย แต่ในความเป็นจริง การมีเพศสัมพันธ์ทุกรูปแบบโดยไม่สวมถุงยางอนามัย ถือว่ามีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ทั้งสิ้น
Table of Contents
ซิฟิลิส คืออะไร?
ซิฟิลิส (Syphilis) เป็นโรคติดเชื้อจากแบคทีเรีย โดยปกติจะติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ผู้ป่วยที่ติดเชื้อซิฟิลิส หากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดปัญหารุนแรงตามมาภายหลังได้ การดำเนินโรคในขั้นต้นโดยทั่วไปจะเริ่มจากบาดแผล ซึ่งมักพบบริเวณอวัยวะเพศ ปาก หรือทวารหนัก ลักษณะของแผลจะเป็นแผลที่ไม่รู้สึกเจ็บ (Painless sore) หรือเรียกว่าแผลริมแข็ง (Chancre) การแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่นสามารถเกิดได้ผ่านทางการสัมผัสบาดแผลนี้กับผิวหนังหรือเยื่อบุต่างๆ โรคซิฟิลิสอาจเป็นปัญหาที่ตรวจพบได้ยาก เนื่องจากการดำเนินโรคหลังจากได้รับเชื้อแล้ว เชื้อแบคทีเรียชนิดสามารถหลบซ่อนตัวอยู่เงียบๆ ภายในร่างกายเราได้เป็นเวลาหลายปีก่อนที่จะมีอาการแสดงขึ้นมาในภายหลัง
สาเหตุของซิฟิลิส
โรคซิฟิลิสเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า ทริปโปนีมา พัลลิดุม (Treponema Pallidum) จากการสัมผัสถูกเชื้อโดยตรงจากแผลของผู้ป่วย โดยเฉพาะในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ที่มักสุ่มเสี่ยงกับการติดเชื้อได้มากที่สุด จึงมักถูกจัดเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้การใช้เข็มฉีดยารวมกับผู้อื่น การรับเลือดจากผู้อื่น รวมไปถึงหญิงตั้งครรภ์ที่มีเชื้อสามารถส่งผ่านเชื้อไปยังทารกในครรภ์ได้เช่นกัน
ในช่วงระยะที่ 1-2 ของการติดเชื้อจะสามารถแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่นได้ง่ายมากที่สุด อย่างไรก็ตามการใช้สิ่งของร่วมกันในบางกรณีที่ไม่ได้สัมผัสกับเชื้อโดยตรงอาจไม่เกิดการแพร่กระจายของเชื้อ เช่น การใช้ห้องน้ำ การสวมเสื้อผ้า หรือใช้ช้อนส้อมร่วมกัน รวมไปถึงระยะสงบของโรคที่มักไม่ค่อยมีอาการและไม่เกิดการติดต่อ
อาการของโรคซิฟิลิส
การติดเชื้อซิฟิลิสจะมีการดำเนินของโรคเป็นระยะๆ แต่ละระยะจะมีอาการต่างกันไป ซิฟิลิสเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งจะประกอบไปด้วยระยะต่างๆดังนี้
โรคซิฟิลิสระยะที่หนึ่ง (Primary Syphilis)
โรคซิฟิลิสมักจะแสดงอาการเริ่มต้นจากการมีแผลเล็กๆ ที่เรียกว่าแผลริมแข็ง (Chancre) โดยแผลริมแข็งจะเกิดขึ้นหลังจากเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายประมาณ 3 สัปดาห์ สำหรับผู้ชายแผลริมแข็งมักจะเกิดในบริเวณปลาย หรือลำอวัยวะเพศในผู้ป่วยบางราย อาจไม่ทันสังเกต หรือไม่รู้ตัวว่ามีแผลเกิดขึ้น เนื่องจากแผลนี้จะไม่มีอาการปวด และแผลอาจซ่อนอยู่ภายในช่องคลอด หรือทวารหนัก จึงเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยบางรายไม่รู้ว่าตนเองติดเชื้อซิฟิลิสได้แผลริมแข็งนี้โดยส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นเพียงตำแหน่งเดียว แต่ก็มีบางส่วนที่มีแผลหลายตำแหน่ง โดยแผลริมแข็งจะสามารถหายเองได้ภายในระยะเวลาไม่กี่สัปดาห์ แม้ไม่ได้ทำการรักษาใดๆ ก็ตาม
โรคซิฟิลิสระยะที่สอง (Secondary Syphilis)
หลังจากที่แผลริมแข็งหายไปไม่นาน ผู้ป่วยซิฟิลิสอาจมีผื่นขึ้นได้ ผื่นนี้มักจะขึ้นบริเวณลำตัว แต่ก็สามารถกระจายไปทั่วร่างกาย รวมถึงมีผื่นขึ้นที่ฝ่ามือและฝ่าเท้าได้เช่นเดียวกัน หรือบางครั้งอาจมีแผลนูนบริเวณอวัยวะเพศร่วมด้วย โดยปกติผื่นจากซิฟิลิสจะไม่มีอาการคัน แต่อาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยดังต่อไปนี้
- อาการปวดกล้ามเนื้อ
- ไข้
- เจ็บคอ
- ต่อมน้ำเหลืองโต
อาการต่างๆ เหล่านี้สามารถหายไปเองได้ภายในไม่กี่สัปดาห์ แต่ก็สามารถกลับมาเป็นใหม่ได้เช่นเดียวกัน
โรคซิฟิลิสระยะแฝง (Latent Stage)
หากไม่ได้รักษา ซิฟิลิสระยะที่สอง (Secondary stage) สามารถดำเนินต่อไปเป็นระยะแฝง (Latent stage) ได้ ในระยะแฝงผู้ป่วยจะไม่มีอาการแสดงใดๆ ที่บ่งบอกถึงการติดเชื้อซิฟิลิสเลย โดยระยะแฝงนี้อาจกินระยะเวลาได้นานเป็นปี
โรคซิฟิลิสระยะสาม (Tertiary stage)
ซิฟิลิสระยะแฝง (Latent stage) อาจมีการดำเนินโรคต่อเนื่องไปสู่ระยะสาม (Tertiary stage) โดยมีอัตราส่วนผู้ติดเชื้อประมาณ 15-30 % จากผู้ติดเชื้อที่ไม่ได้ทำการรักษาทั้งหมดจะพัฒนามาสู่ระยะนี้ อาการของซิฟิลิสระยะที่สาม การติดเชื้ออาจทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อสมอง ระบบประสาท ตา หัวใจ เส้นเลือด ตับ หรือกระดูกและข้อต่อ ซึ่งอาการต่างๆ เหล่านี้ จะเกิดขึ้นหลายปีหลังจากติดเชื้อแต่ไม่ได้รักษา
ควรตรวจซิฟิลิสหรือไม่?
การเข้ารับการตรวจถือเป็นวิธีเดียวที่จะทราบได้อย่างชัดเจนว่าคุณเป็นซิฟิลิสหรือไม่ คุณควรได้รับการตรวจหากคุณ หรือคู่ของคุณแสดงอาการของโรคซิฟิลิส หรือถ้าคุณมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน คุณไม่สามารถพูดได้เต็มปากว่าไม่มีซิฟิลิสเพียงเพราะคุณรู้สึกแข็งแรงดีเท่านั้น เช่นเดียวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ วิธีเดียวที่จะรู้แน่ชัด คือ การเข้ารับการตรวจ
ซิฟิลิสรักษาให้หายขาดได้หรือไม่ ?
โรคซิฟิลิสสามารถรักษาให้หายขาดได้ ถ้าได้รับการตรวจและรักษาอย่างถูกต้องตั้งแต่เนิ่น ๆ หากพบว่าการติดเชื้อของผู้ป่วยอยู่ในระยะเวลาไม่ถึง 1 ปี จะสามารถหยุดการลุกลามของโรคได้ด้วยการฉีดยาเพนิซิลลินเพียง 1 เข็ม แต่ถ้าผู้ป่วยมีการติดเชื้อเป็นระยะเวลามากกว่า 1 ปี อาจต้องรับการยาฉีดชนิดนี้มากขึ้นอีกเมื่อพบว่าผู้ป่วยแพ้ยาเพนิซิลลิน แพทย์ก็จะเสนอการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะชนิดอื่น ๆ
การรักษาโรคซิฟิลิส
หากพบอาการป่วยของโรคนี้ ควรได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ เพราะสามารถรักษาให้หายขาดได้โดยไม่มีผลแทรกซ้อนในระยะยาว วิธีรักษาสำหรับโรคซิฟิลิส คือ การใช้ยาเพนิซิลลิน (Penicillin) ซึ่งเป็นยาปฏิชีวนะชนิดหนึ่ง ในช่วงการรักษา แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยงดการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าจะจบการรักษา และผลตรวจเลือดของผู้ป่วยก็ต้องได้รับการยืนยันว่าหายขาดแน่นอนแล้ว นอกจากนี้ คู่นอนควรเข้ามารับการตรวจและรักษาอย่างครบถ้วน ผู้ป่วยควรรับการตรวจหาเชื้อเอชไอวี (HIV) เนื่องจากการป่วยเป็นโรคซิฟิลิสนั้นจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีที่สูงขึ้นกว่าเดิมด้วย
การป้องกันซิฟิลิส
แนวทางในการป้องกันโรคได้ดีที่สุดเป็นการลดความเสี่ยงจากการได้รับเชื้อ โดยเฉพาะการได้รับเชื้อผ่านทางเพศสัมพันธ์ จึงควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นโรคนี้ รวมไปถึงควรมีการป้องกันก่อนการมีเพศสัมพันธ์ทุกครั้งโดยการสวมถุงยางอนามัย ซึ่งรวมถึงการมีเพศสัมพันธ์ทางปากด้วย บางกรณี เชื้อสามารถส่งผ่านทางการใช้เข็มฉีดยา จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์เหล่านี้ร่วมกันผู้อื่น
ปัจจุบันพบผู้ติดเชื้อโรคซิฟิลิสเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มวัยรุ่น และกลุ่มรักร่วมเพศ รวมไปถึงผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ ซึ่งส่งผลให้พบทารกติดเชื้อตั้งแต่กำเนิดเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย โรคซิฟิลิสสามารถรักษาให้หายขาดได้ หากพบว่าตนเองมีความเสี่ยง ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโดยเร็ว ซิฟิลิสสามารถป้องกันได้ เพียงตรวจเลือด และการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างถูกวิธี หากคุณกำลังมองหาสถานที่ตรวจ วินิจฉัย หรือรักษาโรคซิฟิลิส ขอแนะนำที่ Hugsa Clinic กลางเวียง โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
อ่านบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ติดต่อเรา
- สอบถามเพิ่มเติมกับเราที่นี่ Hugsa Clinic
- Line id @hugsaclinic
- โทร 093 309 9988
- เปิดทุกวัน 10:00-18:00 น.
- แผนที่คลินิก https://g.page/hugsa-medical?share
- เว็บไซต์ www.hugsaclinic.com
- จองคิวตรวจออนไลน์ https://hugsa.youcanbook.me