จากสถิติของกรมควบคุมโรคในปี 2561 พบว่าประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) รายใหม่เฉลี่ยวันละประมาณ 17 คน โดยแบ่งเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีชีวิตอยู่ประมาณ 4.8 แสนคน และผู้ที่ทราบว่าตนติดเชื้อเอชไอวีและได้รับการรักษาอย่างถูกต้องประมาณ 4.5 แสนคน ดังนั้นอีก 2.8 หมื่นคน คือผู้ติดเชื้อที่ยังไม่ทราบว่าตนติดเชื้อ ส่งผลให้ไม่สามารถควบคุมการติดต่อของโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ทำให้หลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้องหันมาให้ความสำคัญกับการป้องกันการติดต่อของเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ กันมากขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงอย่างจริงจัง
ข้อมูลจากรายงานของ napdl.nhso.go.th (บริการข้อมูลสารสนเทศ การให้บริการผู้ติดเชื้อเอชไอวี) พบว่าในช่วงเดือนมกราคม – 4 เมษายน 2562 จังหวัดเชียงใหม่ พบผู้ติดเชื้อ เอชไอวีรายใหม่ 431 คน โดยผู้ที่ติดเชื้อมากที่สุดเป็นเพศชาย ช่วงอายุ 25-49 ปี และ ช่วงอายุที่น้อยที่สุดยังอยู่ในวัยเรียน คือ ช่วงอายุ 10-19 ปีเท่านั้น ซึ่งพื้นที่อำเภอเมืองเชียงใหม่พบผู้ติดเชื้อมากที่สุด ดังนั้นหน่วยงานในจังหวัดเชียงใหม่ ที่เกี่ยวข้องกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต่าง ๆ จึงผลักดันให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปตระหนักถึงความรู้เท่าทัน HIV และเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงยาต้านฉุกเฉิน PEP หรือยาเป๊ป รวมถึงยา PrEP หรือ ยาเพร็พ ให้ง่ายมากขึ้น เพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและการแพร่สู่ผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Table of Contents
ยาต้านฉุกเฉิน PEP หรือ ยาเป๊ป คืออะไร?
ยาต้านฉุกเฉิน PEP หรือ ยาเป๊ป ย่อมาจากคำว่า Post-Exposure Prophylaxis เป็นยาต้านไวรัสที่มีประสิทธิภาพ ใช้สำหรับผู้ที่ไม่มีเชื้อเอชไอวีในร่างกาย โดยแพทย์จะจ่ายยาต้านฉุกเฉิน PEP ให้กับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อเอชไอวีหรือเพิ่งสัมผัสเชื้อเอชไอวี โดยจะต้องทานยาต้านฉุกเฉิน PEP ภายใน 72 ชั่วโมง หลังมีความเสี่ยง และจะต้องทานยาอย่างสม่ำเสมอต่อไปอีก 4 สัปดาห์เพื่อประสิทธิภาพในการช่วยยับยั้งการแพร่กระจายของไวรัสเอชไอวีที่สมบูรณ์
สาเหตุที่ต้องรับยาต้านฉุกเฉิน PEP
การรับยาต้านฉุกเฉิน PEP หรือ ยาเป๊ป สามารถรับได้ในกรณีที่ผ่านเหตุการณ์เสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อเอชไอวีที่ฉุกเฉินเท่านั้น โดยที่ผู้รับยาจะต้องไม่มีเชื้อเอชไอวีในร่างกาย ซึ่งสาเหตุหลัก ๆ ที่จำเป็นต่อการรับยาต้านฉุกเฉิน มีดังต่อไปนี้
- การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัย
- กรณีที่ป้องกันแต่มีความเสี่ยงเกิดขึ้น เช่น ถุงแตก ถุงฉีกขาด ถุงยางหลุด
- มีเพศสัมพันธ์ในขณะที่ไม่มีสติ ทั้งจากฤทธิ์ยาเสพติด ยาบางชนิด หรือแอลกอฮอล์
- การใช้เข็มฉีดยา หรือ กระบอกฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
- กรณีเกิดอุบัติเหตุที่แผลมีการสัมผัสเลือดของผู้อื่น เช่น เข็มฉีดยาตำ
- ผู้ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ
- ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ
ขั้นตอนการรับยาต้านฉุกเฉิน PEP
สำหรับผู้ที่มีความต้องการรับยาต้านฉุกเฉิน PEP ในกรณีที่เพิ่งผ่านเหตุการณ์เสี่ยงสัมผัสเชื้อเอชไอวีมานั้น สามารถปฏิบัติตามขั้นตอนดังต่อไปนี้เพื่อเข้ารับยาเป๊ปจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ภายใน 72 ชั่วโมง
- หาข้อมูลเพื่อให้มั่นใจว่าคุณสามารถเข้ารับยาได้ใกล้ที่สุดที่ไหนบ้าง
- โทรสอบถาม หรือ ติดต่อนัดล่วงหน้ากับทางสถานที่บริการยาต้านฉุกเฉิน
- แพทย์จะทำการประเมินความเสี่ยงและตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด เช่น การตรวจเลือดให้มั่นใจว่าผู้รับยาไม่มีเชื้อเอชไอวีในร่างกายอยู่ก่อน และตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ รวมไปถึงตรวจค่าไต ค่าตับ เพื่อประเมินความพร้อมของร่างกายในการรับยาต้านฉุกเฉิน
- หลังจากนั้นแพทย์จะเลือกชนิดของยาต้านฉุกเฉินที่เหมาะสม
- รับยาเพื่อทานตามที่แพทย์กำหนดอย่างเคร่งครัด
ยาต้านฉุกเฉิน PEP มีทั้งหมดกี่ชนิด
สำหรับยาต้านฉุกเฉิน PEP ในปัจจุบันมีทั้งหมด 3 ชนิด ซึ่งแพทย์จะเลือกจ่ายยาแต่ละชนิดให้ตรงกับความต้องการของร่างกายผู้รับยามากที่สุด เพื่อให้ยาออกฤทธิ์ต้านไวรัสได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้แพทย์จะต้องตรวจร่างกายและซักประวัติอย่างละเอียดก่อนเสมอ โดยยาต้านฉุกเฉินทั้ง 3 ชนิด คือ Stavudine ( d4T ) 30 mg , Lamivudine ( 3TC ) 150 mg , Nevirapine (NVP) 200 mg ในบางกรณีแพทย์อาจเลือกใช้ยา GPO vir Z250 mg เพียงชนิดเดียวในการจ่ายให้ผู้รับยา โดยการพิจารณาแล้วว่าใช้ได้ผลดีกว่าในผู้รับยาบางราย เนื่องจากยานี้เป็นส่วนประกอบของยาต้านฉุกเฉินทั้ง 3 ชนิด
หลักการปฏิบัติตัวระหว่างทานยาต้านฉุกเฉิน PEP
- รับประทานยาตามที่แพทย์กำหนดอย่างสม่ำเสมอ
- ทานยาตรงเวลาในเวลาเดียวกันทุก ๆ วัน โดยเว้นระยะห่างระหว่างมื้อที่แม่นยำ
- หลีกเลี่ยงการรับประทานยาชนิดอื่น ๆ เช่น ยาสมุนไพร ที่นอกเหนือจากยาที่แพทย์จัดไว้
- เก็บยา PEP ให้พ้นจากมือเด็ก และเก็บไว้ในที่พ้นจากแสงแดด
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมไปถึงงดสูบบุหรี่ และยาเสพติดต่าง ๆ
- หากรู้สึกถึงความผิดปกติของร่างกาย ควรรีบพบแพทย์ที่ปรึกษาโดยเร็วที่สุด
- หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี หรือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ
- เข้าพบพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง
อ่านบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
- รักษา หนองใน ที่เชียงใหม่ ควรเลือกไปคลินิกไหนดี?
- รับยา เพร็พ PrEP เชียงใหม่ ปรึกษาง่าย ไม่ยากอย่างที่คิด
ผลข้างเคียงของยาต้านฉุกเฉิน PEP
การทานยาต้านฉุกเฉินอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงได้ ในผู้รับยาบางรายอาจแสดงอาการที่เห็นได้ชัด เช่น คลื่นไส้ ปวดศีรษะ อาเจียน ท้องเสีย นอนไม่หลับ มีผื่นขึ้นเล็กน้อย ซึ่งจะเป็นผลข้างเคียงในระยะสั้นที่ไม่รุนแรง และอาการดีขึ้นในระยะเวลา 2-3 เดือน
สามารถรับยาต้านฉุกเฉิน PEP ในเชียงใหม่ได้ที่ไหน?
สำหรับท่านไหนที่ต้องการรับยาต้านฉุกเฉินในจังหวัดเชียงใหม่ ขอแนะนำ ฮักษา เมดิคอล เชียงใหม่ ที่ให้บริการยาต้านฉุกเฉิน PEP ยาเป๊ป ด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำปรึกษา เกี่ยวกับการใช้ยาต้านเอชไอวีรวมถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ เพื่อให้ชาวเชียงใหม่ได้เข้าถึงการป้องกันและการรักษาเอชไอวีที่มีประสิทธิภาพได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยจะมั่นใจได้ว่าทุกข้อมูลส่วนตัวจะเป็นความลับอย่างแน่นอน
ติดต่อเรา
สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรับยาต้านฉุกเฉิน (PEP) ได้ที่ Hugsa Clinic เชียงใหม่
หรือการรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ กับเราที่นี่
Line id @hugsaclinic (มี @ ด้วยนะครับ)
เบอร์โทรติดต่อ 093-309-9988
เปิดบริการทุกวัน 10:00-18:00 น.
แผนที่คลินิก https://g.page/hugsa-medical?share
ข้อมูลเพิ่มเติมเว็บไซต์ https://cmmedicalclinic.com
จองคิวตรวจออนไลน์ https://hugsa.youcanbook.me