เอชไอวีเป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้คหลายคนหวาดกลัวการติดเชื้อเอชไอวี เนื่องจากยังไม่มียารักษาให้หายขาดได้ และถึงแม้ว่าจะเป็นโรคที่น่ากลัว และไม่มีทางรักษา ซึ่งเป็นสิ่งที่สาธารณสุข และองค์กรที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องให้ความรู้ประชาชนถึงวิธีการที่สามารถช่วยป้องกันและหลีกเลี่ยงการมิให้ตนเอง และครอบครัวติดเชื้อเอชไอวีนี้ได้
Table of Contents
เอชไอวีคืออะไร?
เอชไอวี (HIV) เป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมทั้งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคเอดส์ (AIDS) คือระยะท้ายของการติดเชื้อ HIV ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำและมีโรคแทรกซ้อนได้ เชื้อ HIV จะเข้าไปทำลายเม็ดเลือดขาว ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันโรคของร่างกายลดต่ำลง ทำให้มีโอกาสเกิดการติดเชื้อของโรคฉวยโอกาสต่าง ๆ ได้ เช่น วัณโรค ปอดบวม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น
เอชไอวี มีทั้งหมดกี่ระยะ ?
ระยะของการติดเชื้อเอชไอวี มีทั้งหมด 3 ระยะ ดังนี้
ระยะไม่ปรากฏอาการ
ในระยะนี้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อนั้นจะไม่ปรากฏอาการผิดปกติใด ๆ ให้เห็น จึงดูเหมือนคนปกติที่มีสุขภาพแข็งแรง แต่อาจจะมีอาการป่วยเล็กน้อย โดยเฉลี่ยนั้น จากระยะแรกเข้าสู่ระยะที่ 2 จะใช้เวลาประมาณ 7 – 8 ปี แต่ในบางรายอาจไม่มีอาการอยู่ได้นานถึง 10 ปี จึงทำให้ผู้ที่ติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่นๆได้ เพราะว่าผู้ที่ติดเชื้อเอดส์ส่วนใหญ่ในระยะแรก ยังไม่ทราบว่าตัวเองนั้นติดเชื้อแล้ว
ระยะมีอาการสัมพันธ์กับเอดส์ หรือ ระยะปรากฏอาการ
ในระยะนี้จะตรวจพบผลเลือดบวก และมีอาการผิดปกติปรากฏให้เห็นได้ เช่น ต่อมน้ำเหลืองโตติดต่อกันนานหลายเดือน มีเชื้อราบริเวณในปาก โดยเฉพาะกระพุ้งแก้ม และเพดานปาก เป็นงูสวัด หรือแผลเริมชนิดลุกลาม มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง โดยไม่ทราบสาเหตุเกิน 1 เดือน เช่น มีไข้ ท้องเสีย ผิวหนังอักเสบ น้ำหนักลด และอื่น ๆ ในระยะนี้อาจมีอาการอยู่เป็นปี ก่อนพัฒนาลุกลามกลายเป็นเอดส์เต็มขึ้นในระยะต่อไป
ระยะเอดส์เต็มขั้นหรือระยะโรคเอดส์
ในระยะนี้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะถูกทำลายลงไปเยอะมาก ซึ่งทำให้เป็นโรคต่าง ๆ ได้ง่าย เพราะเชื้อโรคสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น และร่างกายก็ไม่สามารถขจัดเชื้อโรคเหล่านี้ออกไปจากร่างกายได้ ซึ่งมีหลายชนิด ขึ้นอยู่กับว่าติดเชื้อชนิดใด และเกิดขึ้นบริเวิณอวัยวะส่วนใดของร่างกาย เช่น หากติดเชื้อวัณโรคที่ปอด อาการที่พบจะมีไข้เรื้อรัง ไอเป็นเลือด แต่ถ้าเป็นเยื้อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อ จะมีอาการปวดศีรษะอย่างรวดแรง อาเจียน คอแข็ง คลื่นไส้ และถ้าเป็นอาการที่เกี่ยวกับระบบประสาทก็จะมีอาการซึมเศร้า แขนขาอ่อนแรง ความจำเสื่อม ซึ่งพบว่าผู้ป่วยโรคเอดส์ในระยะสุดท้ายนี้ จะมีชีวิตอยู่ได้เพียง 1 – 2 ปีเท่านั้น
อาการของเอชไอวี
- ปอดอักเสบ
- สูญเสียความจำ อาการซึมเศร้าและอาการทางระบบประสาทอื่นๆ
- ท้องเสียเรื้อรังนานกว่าหนึ่งสัปดาห์
- เหนื่อยผิดปกติ
- อาการไข้ที่กลับมาเป็นซ้ำๆ
- เหงื่อออกตอนกลางคืน
- น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว
- มีผื่นตามผิวหนัง ในช่องปาก จมูกและเปลือกตา
- แผลที่ริมฝีปาก อวัยวะเพศและทวารหนัก
- อาการบวมที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ รักแร้และขาหนีบ
ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเอชไอวี
- ปริมาณเชื้อเอดส์ที่ได้รับ หากได้รับเชื้อเอดส์ในปริมาณมากก็จะทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์สูงตามไปด้วย เชื้อเอดส์จะพบมากที่สุดในเลือด รองลงมาคือในน้ำอสุจิและน้ำในช่องคลอด และน้ำนมแม่ ตามลำดับ ส่วนในน้ำลายหรือน้ำตา จะมีเชื้อเอชไอวีอยู่น้อยมาก จนไม่สามารถติดต่อไปสู่คนอื่นได้
- การมีบาดแผล หากมีบาดแผลบริเวณผิวหนังหรือในปากก็ย่อมทำให้มีโอกาสติดเชื้อเอดส์สูง เพราะเชื้อเอชไอวี สามารถเข้าสู่บาดแผลได้ง่าย
- ความบ่อยในการสัมผัสเชื้อ หากมีการสัมผัสเชื้อไวรัสบ่อย โอกาสเสี่ยงที่จะติดเชื้อก็มีสูงขึ้น เช่น นักวิจัยที่ต้องทำการทดลอง ศึกษาเกี่ยวกับเชื้อไวรัส เอชไอวี เป็นต้น
- การติดเชื้อแบบอื่น ๆ เช่น แผลเริม ซึ่งแผลชนิดนี้จะมีเม็ดเลือดขาวอยู่ที่บริเวณแผลเป็นจำนวนมาก ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์ได้ง่าย และเชื้อเอดส์ก็ยังเข้าสู่บาดแผลได้ง่ายขึ้นด้วย
- สุขภาพของผู้รับเชื้อ หากคุณเป็นคนที่มีสุขภาพแข็งแรงอยู่แล้ว โอกาสที่จะติดเชื้อก็เป็นไปได้ยาก แต่หากสุขภาพอ่อนแอ ก็มีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายเช่นกัน
- ช่องทางที่ทำให้เกิดการสัมผัส หรือส่งต่อเชื้อได้โดยตรง เช่น การใช้เข็มฉีดยาเสพติดร่วมกัน หรือการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน ซึ่งเป็นการส่งต่อเชื้อกันโดยตรง โดยกรณีของการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน เชื้ออาจจะผ่านเข้าสู่ร่างกายทางเยื่อบุช่องคลอด เยื่อบุช่องทวาร หรือบริเวณเยื่อบุอ่อนปลายอวัยวะเพศชาย
- เชื้อเอชไอวีที่ติดต่อได้ต้องเป็นเชื้อเอชไอวี ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เช่น เข้าไปในกระแสเลือด ช่องคลอด ช่องทวารหนัก เป็นต้น แต่ถ้าเชื้อออกมาและอยู่ในที่ร้อน แห้ง หรือนอกร่างกาย เชื้อจะด้อยคุณภาพและไม่สามารถติดต่อไปสู่คนอื่นได้
ควรตรวจหาเชื้อเอชไอวีเมื่อไหร่
- ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันกับผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี
- ผู้ที่ใช้เข็มหรือหลอดฉีดยาร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี
- ผู้ที่เกิดในพื้นที่ที่มีอัตราการติดเชื้อเอชไอวีสูง (การรู้ว่าประเทศเกิดของแม่คุณช่วยได้)
- ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่มีการป้องกันกับคู่นอนมากกว่าหนึ่งคนในช่วงหกเดือนที่ผ่านมา และ/หรือ
- ผู้ที่คู่ของคุณอาศัยอยู่กับเอชไอวีและไม่ใช้ยาเพื่อควบคุม
- ผู้ที่ตัดสินใจจะมีคู่หรือแต่งงาน
- ผู้ที่สงสัยว่าคู่นอนของตนมีพฤติกรรมเสี่ยง
- ผู้ที่คิดจะตั้งครรภ์ เพื่อความปลอดภัยของแม่และตัวเด็ก
- ผู้ที่จะเดินไปทำงานต่างประเทศ เพราะต้องการข้อมูลที่สนับสนุนเรื่องความปลอดภัยและสุขภาพร่างกาย
ป้องกันติดเชื้อไวรัสเอชไอวีได้อย่างไร
- สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
- มีคู่นอนเพียงคนเดียว ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ
- ก่อนสมรส หรือมีลูก ควรมีการตรวจเลือด
- งดใช้เข็มฉีดยาร่วมกับคนอื่น
- พาคู่รักและตนเองไปตรวจเลือด หรือรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ
การรักษาการติดเชื้อเอชไอวี
การรักษาการติดเชื้อเอชไอวี คือการใช้ยาต้านรีโทรไวรัส (antiretroviral drugs หรือเรียกย่อว่า ARV) ซึ่งทำหน้าที่ยับยั้งหรือต้านการแบ่งตัวของเชื้อ เอชไอวี ทำให้ผู้ติดเชื้อมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อสู่คนอื่น หนึ่งในช่องทางที่สะดวกสบาย เข้าถึงง่าย และไม่ต้องกังวลกับการเขินอายในการเข้ารับการตรวจ สามารถเข้ารับการตรวจคัดกรองหาเชื้อเอชไอวี รับยาต้านไวรัส หรือรักษา ได้ที่ Hugsa Clinic กลางเวียง เชียงใหม่ ด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำปรึกษา
อ่านบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ติดต่อเรา
- สอบถามเพิ่มเติมกับเราที่นี่ Hugsa Clinic
- Line id @hugsaclinic
- โทร 093 309 9988
- เปิดทุกวัน 10:00-18:00 น.
- แผนที่คลินิก https://g.page/hugsa-medical?share
- เว็บไซต์ www.hugsaclinic.com
- จองคิวตรวจออนไลน์ https://hugsa.youcanbook.me