เมื่อพูดถึง โรคหนองใน หลายคนคงอาจเคยได้ยินกันมาบ้างแล้ว ทั้งจากข่าวการแพร่ระบาดในอดีต ไปจนถึงเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่มีการให้ความรู้จากกรมควบคุมโรคมากมาย ที่ได้ให้ความรู้กับประชาชนไทยทุกเพศทุกวัยได้ตระหนักถึงอันตรายของโรคหนองในมากขึ้น เนื่องจากในช่วงปี พ.ศ 2543 – 2544 ประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคหนองใน ที่มีอายุระหว่าง 25 ถึง 34 ปี และในปีถัดมา พบว่ามีสถิติการติดเชื้อโรคหนองในในเยาวชนมากขึ้น ซึ่งมีอายุเพียง 15 ถึง 24 ปีเท่านั้น (สถิติจากสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข)
โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อหนองในอย่างต่อเนื่อง และระหว่างปี พ.ศ. 2548 -2558 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ในปี พ.ศ. 2548 , 2553 และ พ.ศ. 2558 พบผู้ติดเชื้อหนองในมากถึง 7.35 ต่อประชากรแสนคน , 11.83 ต่อประชากรแสนคน และ 13.14 ต่อประชากรแสนคนตามลำดับ ทั้งนี้ยังพบว่าในปี พ.ศ. 2560 มีผู้ป่วยโรคหนองใน 10,301 ราย จาก 77 จังหวัด คิดเป็นอัตราป่วย 15.74 ต่อประชากรแสนคน (ข้อมูลจากการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค)
จากข้อมูลข้างต้นสะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มการแพร่ระบาดของโรคหนองในที่เปลี่ยนไปจากอดีต และยังคงเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่มีการเคลื่อนไหวจากองค์กรที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ในการร่วมรณรงค์การรับรู้ให้ประชาชนและกลุ่มวัยรุ่น ใด้ตระหนักถึงอันตรายที่ไม่ควรละเลยในการมีเพศสัมพันธ์อย่างถูกต้องปลอดภัย
Table of Contents
รู้หรือไม่?
ภาคเหนือติดอันดับ 2 ที่พบผู้ป่วยโรคหนองในมากที่สุด รองจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ผู้ป่วยโรคหนองใน พบมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในอัตรา 68.0 ต่อประชากรแสนคน ภาคเหนือพบในอัตรา 62.2 ต่อประชากรแสนคน ภาคกลางพบในอัตรา 58.6 ต่อประชากรแสนคน และภาคใต้พบในอัตรา 15.2 ต่อประชากรแสนคน โดยพื้นที่ที่พบผู้ป่วยหนองในส่วนใหญ่เป็น แหล่งท่องเที่ยวหลักของไทย และมีแรงงานข้ามชาติเป็นจํานวนมาก เช่น ตราด จันทบุรี สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร ภูเก็ต เชียงใหม่ ระยอง สุราษฎร์ธานี ศรีสะเกษ เชียงราย เป็นต้น (สถิติในช่วงปี 2556-2560 จากแผนงานวิจัยด้านการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ปี 2562-2564)
โรคหนองใน คืออะไร?
โรคหนองใน (Gonorrhea) คือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า เนอิสซีเรีย โกโนเรีย (Neisseria gonorrhoeae) ซึ่งพบได้มากเป็นอันดับต้น ๆ ของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทั้งหมด โดยโรคหนองในนั้นแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือหนองในแท้ และ หนองในเทียม ซึ่งหนองในเทียมจะเกิดจากเชื้อไวรัส เชื้อรา หรือเชื้อแบคทีเรียอื่น ๆ กล่าวคือไม่ได้มีสาเหตุของโรคมาจากการติดเชื้อ Neisseria gonorrhoeae นั่นเอง
สาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคหนองใน
โรคหนองในมีสาเหตุมาจากที่ร่างกายติดเชื้อแบคทีเรีย Neisseria gonorrhoeae ซึ่งเชื้อนี้สามารถเจริญได้ดีในร่างกายที่มีความชื้นและอบอุ่น ไม่ว่าจะเป็น อวัยวะเพศ ช่องคลอด ทวารหนัก ท่อปัสสาวะ ปากมดลูก มดลูก ปีกมดลูก เยื่อบุตา ช่องปาก และคอ เป็นต้น ซึ่งอาจไม่ใช่แค่การร่วมเพศเท่านั้น เพราะการสัมผัสก็สามารถทำให้ติดเชื้อโรคหนองในได้เช่นกัน ส่งผลให้โรคหนองในเป็นหนึ่งในโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ควรป้องกันจากการมีเพศสัมพันธ์ รวมไปถึงสุขลักษณะทางเพศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย อีกทั้งยังสามารถแพร่ผ่านหญิงมีครรถ์ที่มีเชื้อหนองในไปสู่ทารกผ่านทางช่องคลอดได้
อ่านบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
อาการของโรคหนองในเป็นอย่างไร?
อาการของโรคหนองในจะแสดงอาการแตกต่างกันไป ตามบริเวณที่ติดเชื้อและเพศของผู้ป่วย โดยสามารถตรวจพบได้ประมาณ 3 วันหลังจากที่ร่างกายได้รับเชื้อ
- อาการโรคหนองในของผู้ป่วยเพศชาย
อาการของผู้ป่วยโรคหนองในเพศชาย จะขึ้นอยู่กับบริเวณที่ติดเชื้อเป็นสำคัญ ซึ่งผู้ป่วยบางรายที่เป็นรอยโรคหนองในบริเวณทวารหนักและบริเวณลำคอ ส่วนใหญ่แล้วจะไม่แสดงอาการหรือรอยโรคที่ชัดเจน ส่วนน้อยที่แสดงอาการนั้นมักจะมีของเหลวสีเหลืองหรือสีขาวมีลักษณะข้น ไหลออกจากอวัยวะเพศ มีของเหลวไหลออกจากทวารหนัก ปัสสาวะแสบขัด ผิวหนังรอบปลายอวัยวะเพศเป็นสีแดง รวมถึงมีอาการเจ็บคอแห้ง ๆ ร่วมด้วย
- อาการโรคหนองในของผู้ป่วยเพศหญิง
อาการของผู้ป่วยโรคหนองในเพศหญิง ส่วนใหญ่แล้วจะไม่แสดงอาการหรือรอยโรคอย่างชัดเจน ส่วนน้อยที่แสดงอาการนั้นมักจะมีอาการผิดปกติของรอบประจำเดือน เจ็บอุ้งเชิงกราน มีของเหลวออกจากช่องคลอดมากกว่าปกติ ถ่ายปัสสาวะแสบขัด มีของเหลวไหลออกจากทวารหนัก รวมถึงมีอาการเจ็บคอแห้ง ๆ ร่วมด้วย กรณีที่ผู้ป่วยปล่อยไว้นานและไม่ได้รับการรักษาอย่างทันทวงที เชื้อโรคหนองในมีโอกาสแพร่สู่มดลูกและท่อทางเดินรังไข่ได้ จนทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ง่าย โดยเฉพาะโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ (PID) ส่งผลให้เป็นหมันได้ในที่สุด
วิธีการรักษาโรคหนองใน
สำหรับการรักษาโรคหนองในนั้น แพทย์จะทำการรักษาโดยใช้ยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์ได้ดีกับเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ ซึ่งเป็นยาในกลุ่ม Ceftriaxone และ Azithromycin ที่ได้รับการวิจัยแล้วว่าใช้กับโรคหนองในได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยแพทย์จะให้ยารักษาแก่ผู้ป่วยประมาณ 1 สัปดาห์ และต้องกลับมาตรวจซ้ำอีกครั้ง กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการดื้อยาควรพบแพทย์ภายใน 24 ชั่วโมง เพื่อให้แพทย์ตรวจหาเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ หรือโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของอาการดื้อยาได้
รักษาโรคหนองใน จังหวัดเชียงใหม่ ที่ไหนดี?
สำหรับชาวเชียงใหม่ที่ต้องการตรวจโรคหนองใน หรือ รักษาโรคหนองใน สามารถเข้ารับการตรวจด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจาก ฮักษา คลินิค กลางเวียง ได้อย่างมั่นใจ เพราะเราให้บริการตรวจรักษาเฉพาะทาง ที่ได้รับวุฒิบัตรรับรองจากสถาบันทางการแพทย์ในประเทศและต่างประเทศ พร้อมให้บริการตรวจโรคหนองใน ร่วมถึงโรคทั่วไปต่าง ๆ อย่างครบวงจร วินิจฉัยรวดเร็วและเป็นกันเอง เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 10:00 – 18:00 น. โดยสามารถจองคิวการตรวจล่วงหน้าได้ง่าย ๆ ผ่าน Line ID : @hugsaclinic หรือ โทร.093-309-9988
ติดต่อเรา
สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาโรคหนองใน Hugsa Clinic เชียงใหม่
หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ กับเราที่นี่
Line id @hugsaclinic (มี @ ด้วยนะครับ)
เบอร์โทรติดต่อ 093-309-9988
เปิดบริการทุกวัน 10:00-18:00 น.
แผนที่คลินิก https://g.page/hugsa-medical?share
ข้อมูลเพิ่มเติมเว็บไซต์ https://cmmedicalclinic.com
จองคิวตรวจออนไลน์ https://hugsa.youcanbook.me