หน้าฝนเป็นช่วงเวลาที่ความชื้น และอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคต่าง ๆ ทำให้เกิดโรคหลากหลายชนิด เรามาดูกันว่า โรคที่พบบ่อยในหน้าฝน มีอะไรบ้าง และเราจะป้องกันตัวเองจากโรคเหล่านี้ได้อย่างไร เพื่อให้สามารถผ่านหน้าฝนได้อย่างปลอดภัย และสุขภาพดี
Table of Contents
ไข้เลือดออก
โรคไข้เลือดออก เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue virus) ซึ่งแพร่กระจายโดยยุงลาย (Aedes mosquitoes) อาการของไข้เลือดออกได้แก่ มีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และอาจมีผื่นแดงตามร่างกาย ในกรณีรุนแรงอาจมีเลือดออกผิดปกติ และช็อคได้
การป้องกันไข้เลือดออก
- ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เช่น แหล่งน้ำขังในบ้านและรอบบ้าน
- ใช้ยากันยุงและสวมเสื้อผ้าที่ปกปิดผิวหนัง
- ใช้มุ้งลวดกันยุงในห้องนอน
การรักษาไข้เลือดออก
ปัจจุบัน ยังไม่มี ยารักษาโรคไข้เลือดออกโดยตรง การรักษาจึงมุ่งเน้นไปที่ การรักษาตามอาการ และ การประคับประคอง เพื่อให้ร่างกายผู้ป่วยกลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็วที่สุด แนวทางการรักษา มีดังนี้
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- ดื่มน้ำมากๆ โดยเฉพาะน้ำเกลือแร่ ORS เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ
- เช็ดตัว เพื่อลดไข้
- รับประทานยา เพื่อลดไข้ และบรรเทาอาการปวด เช่น ยาพาราเซตามอล
- สังเกตอาการ หากมีอาการรุนแรงขึ้น เช่น อาเจียนมาก ปวดท้องรุนแรง หมดสติ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
โรคฉี่หนู
โรคฉี่หนู เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย (Leptospirosis) ที่พบในปัสสาวะของสัตว์ที่ติดเชื้อ เช่น หนู เชื้อสามารถปนเปื้อนในน้ำและดิน เมื่อคนเดินผ่านหรือสัมผัสน้ำหรือดินที่ปนเปื้อนเชื้อ แบคทีเรียสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านทางแผลหรือรอยถลอก อาการของโรคฉี่หนูได้แก่ ไข้สูง หนาวสั่น ปวดกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะบริเวณน่อง ตาแดง อาจมีอาการดีซ่าน และในบางกรณีอาจทำให้เกิดอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต
การป้องกันโรคฉี่หนู
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำหรือน้ำขังที่อาจปนเปื้อนเชื้อ
- ใส่รองเท้าบูทหรือถุงมือเมื่อจำเป็นต้องสัมผัสน้ำหรือดินที่อาจมีเชื้อ
- ดูแลรักษาความสะอาดของบาดแผล และหลีกเลี่ยงการให้แผลสัมผัสน้ำสกปรก
การรักษาโรคฉี่หนู
โรคฉี่หนู สามารถรักษาให้หายได้โดยใช้ยาปฏิชีวนะ แต่ ควรเริ่มรักษาโดยเร็วที่สุด โดยทั่วไป แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะเป็นระยะเวลา 5 – 7 วัน ชนิดของยาปฏิชีวนะ จะแตกต่างกันไปตามความรุนแรงของอาการ
โรคระบบทางเดินอาหาร
โรคระบบทางเดินอาหาร เช่น อหิวาตกโรค บิด อาหารเป็นพิษ มักเกิดจากการบริโภคอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงในช่วงหน้าฝนอาจทำให้การเก็บรักษาอาหารไม่ดี และเกิดการปนเปื้อน อาการที่พบได้คือ ท้องเสีย อาเจียน ปวดท้อง และอาจมีไข้
การป้องกันโรคระบบทางเดินอาหาร
- กินอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ๆ และดื่มน้ำสะอาด
- ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำ
- หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่ไม่สะอาด อาหารดิบ อาหารสุกๆ ดิบๆ
การรักษาโรคระบบทางเดินอาหาร
การรักษาโรคระบบทางเดินอาหาร ขึ้นอยู่กับสาเหตุ และความรุนแรงของโรค โดยทั่วไป โรคอหิวาตกโรค โรคบิด อาหารเป็นพิษ แพทย์จะใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษา พร้อมกับวิธีดูแลตัวเองโดยการ ดื่มน้ำให้เพียงพอ รับประทานอาหารอ่อนๆ และพักผ่อนให้เพียงพอ
โรคหวัดและไข้หวัดใหญ่
ช่วงหน้าฝนเป็นช่วงที่อากาศเย็นและชื้น ทำให้เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคหวัดและไข้หวัดใหญ่ เจริญเติบโตได้ดี การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างรวดเร็วอาจทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน และติดเชื้อได้ง่ายขึ้น อาการของโรคหวัดและไข้หวัดใหญ่รวมถึง มีไข้ ปวดหัว ไอ น้ำมูกไหล และเจ็บคอ
การป้องกันโรคหวัดและไข้หวัดใหญ่
โรคหวัด และ ไข้หวัดใหญ่ เป็น โรคที่พบบ่อยในหน้าฝน การป้องกัน โรคเหล่านี้จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อป้องกันไม่ให้เจ็บป่วย และป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค แนวทางการป้องกัน แบ่งออกเป็นดังนี้
หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วย
- หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นหวัดหรือไข้หวัดใหญ่
- สวมหน้ากากอนามัยเมื่อต้องสัมผัสกับผู้ป่วย
- ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำสบู่ หรือใช้เจลล้างมือที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
- ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำ ช้อนส้อม ผ้าเช็ดหน้า
ดูแลสุขอนามัย
- ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำสบู่ หรือใช้เจลล้างมือที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
- ปิดปาก จมูก เวลาไอหรือจาม ใช้ทิชชู่ปิดปาก จมูก ทิ้งทิชชู่ลงถังขยะที่มีฝาปิด ล้างมือหลังไอหรือจาม
- ทำความสะอาดพื้นผิวที่สัมผัสบ่อยๆ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ลูกบิดประตู สวิตซ์ไฟ
เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นผัก ผลไม้
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ
- หลีกเลี่ยงความเครียด
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่
- ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ทุกปี โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว
การรักษาโรคหวัดและไข้หวัดใหญ่
โรคหวัดและไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัส โดยทั่วไป ไม่มียา รักษาโดยตรง การรักษาจึงมุ่งเน้นไปที่ การรักษาตามอาการ และ การป้องกันภาวะแทรกซ้อน แนวทางการรักษา แบ่งออกเป็นดังนี้
การรักษาตามอาการ
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- ดื่มน้ำมากๆ โดยเฉพาะน้ำอุ่น
- สูดดมน้ำเกลือ เพื่อช่วยบรรเทาอาการคัดจมูก
- กลั้วคอด้วยน้ำเกลือ เพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ
- ใช้ยา เพื่อบรรเทาอาการ เช่น
- ยาแก้ปวด เช่น ยาพาราเซตามอล (Paracetamol)
- ยาแก้ไอ
- ยาแก้คัดจมูก
- ยาละลายเสมหะ
การป้องกันภาวะแทรกซ้อน
- ติดตามอาการ หากมีอาการป่วยรุนแรงขึ้น เช่น ไข้สูงขึ้น หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก ควรรีบไปพบแพทย์
- กลุ่มเสี่ยง ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก ผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรไปพบแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำในการรักษา
อ่านบทความอื่นๆ เพิ่มเติม
ช่องทางการติดต่อ
- ฮักษาคลินิก กลางเวียง เชียงใหม่ ตั้งอยู่ที่ 77/7 ถนน คชสาร ตำบลช้างคลาน อำเภอเมืองเชียงใหม่ เชียงใหม่
- เปิดบริการทุกวัน
- จันทร์ – ศุกร์ 10.00 – 20.00 น.
- เสาร์ – อาทิตย์ 10.00 – 18.00 น.
- สอบถามผ่าน Line id. @hugsaclinic (มี @ ด้วยนะครับ)
- เบอร์โทรติดต่อ 093 309 9988
- แผนที่คลินิก https://g.page/
hugsa-medical?share - จองคิวตรวจออนไลน์ https://hugsa.youcanbook.me