กินเพร็พ (PrEP) อย่างสม่ำเสมอ ช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีได้ เกือบ 100 % ทั้งนี้ เพร็พ (PrEP) ไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ได้ จึงยังจำเป็นต้องใช้ถุงยางอนามัยในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ควบคู่กันไปด้วย

เพร็พ (PrEP) คืออะไร ?

เพร็พ (PrEP) ย่อมาจาก pre-exposure prophylaxis คือ เป็นยาที่ใช้ได้กับผู้ที่ร่างกายยังไม่มีเชื้อเอชไอวี ใช้เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีสำหรับกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น กลุ่มชายรักชาย สาวประเภทสอง หรือผู้ที่มีพฤติกรรมการเปลี่ยนคู่นอนบ่อย คู่นอนมีเชื้อเอชไอวี โดยจะต้องทานเพร็พ (PrEP) วันละ 1 เม็ด ให้ตรงเวลาทุกวัน

เพร็พ (PrEP) เหมาะสำหรับใคร ?

  • ผู้ที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย
  • ผู้ที่เพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก
  • ผู้ที่ใช้สารเสพติดประเภทฉีด
  • ผู้ที่มีคู่นอนติดเชื้อเอชไอวี
  • ผู้ที่ทำงานบริการทางเพศ
  • ผู้ที่มาขอรับบริการ Post-Exposure Prophylaxis (PEP) อยู่เป็นประจำ

เพร็พ (PrEP) มีกี่แบบ ?

PrEP Daily 

  • ทานวันละ 1 เม็ด ตรงเวลาทุกวัน
  • ต้องรับประทานก่อนมีความเสี่ยงอย่างน้อย 7 วัน
  • เหมาะกับคนที่วางแผนการมีเพศสัมพันธ์ของตัวเองไม่ได้ หรือมีพฤติกรรมเสี่ยง

PrEP On Demand

  • เหมาะกับคนที่รู้ว่าตัวเองจะมีเพศสัมพันธ์ในช่วงไหน
  • ไม่จำเป็นต้องกินทุกวันแบบ PrEP Daily
  • โดยสูตรในการกินคือ
    • 2 เม็ดแรก กินก่อนมีเพศสัมพันธ์ 2-24 ชั่วโมง
    • 1 เม็ด กินหลังกินยาครั้งแรก 24 ชั่วโมง
    • 1 เม็ด กินหลังกินยาครั้งแรก 48 ชั่วโมง

เตรียมตัวอย่างไร ? ก่อนรับเพร็พ (PrEP)

เนื่องจากเพร็พ (PrEP) ต้องรับประทานทุกวัน ต่อเนื่อง เป็นระยะเวลานาน ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์ถึงความเหมาะสม ประโยชน์ที่จะได้รับ และควรได้รับความรู้เกี่ยวกับการป้องกันเอชไอวี รวมถึงการประเมินค่าใช้จ่ายก่อนเข้ารับบริการ เมื่อตัดสินใจเริ่มยา แพทย์จะต้องมีการตรวจเอชไอวีและการตรวจเลือดอื่นๆ เช่น การทำงานของตับและไต ว่าปกติหรือไม่ หลังจากที่ได้รับเพร็พ (PrEP) ครั้งแรกและแพทย์จะนัดตรวจอาการและเลือดทุก 1-3 เดือนจนกว่าจะหยุดยา

ข้อแตกต่างระหว่าง เพร็พ (PrEP) กับ เป๊ป (PEP)

  • เพร็พ (PrEP) คือยาต้านไวรัส สำหรับผู้ที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวี ทาน”ก่อน” สัมผัสเชื้อ ทานให้ตรงเวลา ทุกวัน วันละ 1 เม็ด
  • เป๊ป (PEP) คือคือยาต้านไวรัส “หลัง” การสัมผัสเชื้อ ใช้ในกรณีฉุกเฉิน ทานให้เร็วที่สุด ภายใน 72 ชั่วโมง ต่อเนื่อง 28 วัน

เพร็พ (PrEP) มีผลข้างเคียงอย่างไร ?

ส่วนใหญ่ผู้ที่ได้รับ เพร็พ(PrEP) จะไม่มีผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย แต่อาจจะมีอาการที่ส่งผลให้เห็นได้ชัด คือ คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย เวียนศีรษะ ปวดหัว เบื่ออาหาร เหนื่อยง่าย โดยปกติแล้วอาการที่แสดงออกมาเหล่านี้ สามารถหายได้เองใน 3 – 4 สัปดาห์แรก หากอาการเหล่านี้ยังคงอยู่และเหมือนว่าจะรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ผู้รับยาต้องแจ้งอาการอย่างละเอียดให้แพทย์ที่ดูแลทราบทันที

รับเพร็พ (PrEP) เชียงใหม่ ได้ที่ไหน ?

สำหรับท่านไหนที่ต้องการรับยาต้านไวรัสก่อนสัมผัสเชื้อ เพร็พ(PrEP)ในจังหวัดเชียงใหม่ ขอแนะนำ Hugsa Clinic กลางเวียง เชียงใหม่ ที่ให้บริการยาเพร็พ (PrEP) ด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำปรึกษา เกี่ยวกับการใช้ยาต้านเอชไอวีรวมถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ เพื่อให้ชาวเชียงใหม่ได้เข้าถึงการป้องกันและการรักษาเอชไอวีที่มีประสิทธิภาพได้สะดวกยิ่งขึ้น ทุกข้อมูลส่วนตัวจะเป็นความลับอย่างแน่นอน

อ่านบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ติดต่อเรา