PrEP (เพร็พ) และ PEP (เป๊ป) คือ ยาต้านไวรัสเอชไอวีใช้เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ ทั้งก่อนและหลังการสัมผัสเชื้อ ก่อนการรับยาต้องมีการประเมินความเสี่ยงว่าตรงตามเงื่อนไขการรับยาหรือไม่ ประกอบกับการตรวจเลือดตามมาตรฐานสากล (คนไข้ที่จะรับยาจะต้องมีผล HIV เป็นลบ) และยาในกลุ่มนี้ต้องพิจารณาจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น
Table of Contents
PrEP (เพร็พ) และ PEP (เป๊ป) คืออะไร ?
PrEP (เพร็พ) Pre-exposure prophylaxis คือ ยาต้านไวรัสเอชไอวี “ก่อน” การสัมผัสเชื้อ สำหรับผู้ที่ไม่มีเชื้อเอชไอวี ใช้เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีสำหรับกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น กลุ่มชายรักชาย สาวประเภทสอง หรือผู้ที่มีพฤติกรรมการเปลี่ยนคู่นอนบ่อย คู่นอนมีเชื้อเอชไอวี โดยจะต้องทานPrEP (เพร็พ) วันละ 1 เม็ด ให้ตรงเวลาทุกวัน
PEP (เป๊ป) Post-exposure prophylaxis คือ ยาต้านไวรัสเอชไอวี “หลัง” การสัมผัสเชื้อ ใช้ในกรณีฉุกเฉิน เช่น ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่นโดยไม่สวมถุงยางอนามัย ผู้ที่ถุงยางอนามัยหลุดหรือฉีกขาด(ถุงแตก) ผู้ที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น โดยจะต้อง รับประทานPEP (เป๊ป) ให้เร็วที่สุดภายใน 72 ชั่วโมง หลังมีความเสี่ยง
ใครบ้างที่ควรทาน PrEP (เพร็พ)
- ผู้ที่มีคู่นอนหลายคน
- ชายที่มีเพศสัมพันธ์ชาย
- ผู้ที่ทำงานบริการทางเพศ
- ผู้ที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
- ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี
- ผู้ที่มาขอรับบริการ Post-Exposure Prophylaxis (PEP) อยู่เป็นประจำ
ใครบ้างที่ควรทาน PEP (เป๊ป)
- ผู้ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ
- ผู้ที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
- ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน
- ผู้ที่ถุงยางอนามัยฉีกขาด (ถุงแตก)
- บุคลากรทางการแพทย์ที่โดนเข็มทิ่มตำ
จะรับ PrEP (เพร็พ) และ PEP (เป๊ป) ได้อย่างไร ?
การรับ PrEP (เพร็พ)
- งดมีเพศสัมพันธ์ 2 สัปดาห์ก่อนมารับ PrEP (เพร็พ)
- ผู้มารับบริการจะต้องได้รับการตรวจเอชไอวี การทำงานของตับและไต
- หลังจากที่ได้รับยา PrEP (เพร็พ) ครั้งแรกจะนัดตรวจเลือด 1 เดือน หลังจากนั้นนัดตรวจเลือดทุก 3 เดือน
- หากต้องการหยุดยา ผู้มารับบริการต้องมาตรวจเลือดก่อนหยุดยาทุกครั้ง
การรับ PEP (เป๊ป)
- ก่อนที่ผู้รับบริการจะรับยา PEP (เป๊ป) แพทย์จะซักประวัติเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และพิจารณาว่าจำเป็นต้องรับยาหรือไม่
- แพทย์จะสั่งตรวจเอชไอวี ตรวจไวรัสตับอักเสบบี การทำงานของตับและไตก่อนรับยา PEP (เป๊ป)
- หากติดเชื้อเอชไอวี อยู่ก่อนแล้ว จะไม่สามารถใช้ยา PEP (เป๊ป) ได้
- หลังรับประทานยาครบ 28 วัน ตรวจเอชไอวีซ้ำ 1 เดือน และ 3 เดือน
- งดบริจาคเลือด และใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
PrEP (เพร็พ) และ PEP (เป๊ป) ต่างกันอย่างไร ?
PrEP (เพร็พ) | PEP (เป๊ป) |
---|---|
ยาต้านไวรัส “ก่อน” การสัมผัสเชื้อ | ยาต้านไวรัส “หลัง” การสัมผัสเชื้อ |
ทานก่อนมีความเสี่ยง 7 วัน | ทานภายใน 72 ชั่วโมง หลังการสัมผัสเชื้อ |
ทานวันละ 1 เม็ด | ทานวันละ 1 เม็ด |
ทานทุกวันให้ตรงเวลา | ทานต่อเนื่อง 28 วัน |
เหมาะสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงประจำ | เหมาะสำหรับผู้ที่ผ่านความเสี่ยง |
ผลข้างเคียงของ PrEP (เพร็พ) และ PEP (เป๊ป)
- PrEP (เพร็พ) มีอาการคลื่นไส้และน้ำหนักลดหลังได้รับยาในระยะแรก ผลข้างเคียงระยะยาวพบได้น้อย ได้แก่ ผลต่อการทำงานต่อไต
- PEP (เป๊ป) มีผลข้างเคียง เช่น ท้องเสีย ปวดหัว อิดโรย คลื่นไส้ และอาเจียน
รับ PrEP (เพร็พ) และ PEP (เป๊ป) เชียงใหม่ ได้ที่ไหน ?
สำหรับท่านไหนที่ต้องการรับยา PrEP (เพร็พ) และ PEP (เป๊ป) ในจังหวัดเชียงใหม่ ขอแนะนำ Hugsa Clinic กลางเวียง เชียงใหม่ ที่ให้บริการด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้คำปรึกษา เกี่ยวกับการใช้ยาต้านเอชไอวีทั้งก่อนและหลังการสัมผัสเชื้อ รวมถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ เพื่อให้ชาวเชียงใหม่ได้เข้าถึงการป้องกันเอชไอวีที่มีประสิทธิภาพ ทุกข้อมูลส่วนตัวจะเป็นความลับอย่างแน่นอน
อ่านบทความอื่นๆ
- เพร็พ (PrEP) ยาต้านไวรัสเอชไอวี “ก่อน” สัมผัสเชื้อ
- รู้หรือไม่ว่า PrEP กับ PEP คืออะไร ทำความเข้าใจก่อนใช้
ติดต่อเรา
- สอบถามเพิ่มเติมกับเราที่นี่ Hugsa Clinic
- Line id @hugsaclinic
- โทร 093 309 9988
- เปิดทุกวัน 10:00-18:00 น.
- แผนที่คลินิก https://g.page/hugsa-medical?share
- จองคิวตรวจออนไลน์ https://hugsa.youcanbook.me