โรคไวรัสตับอักเสบ เป็นโรคที่รู้จักันมานาน และเป็นโรคที่พบได้บ่อย แต่ก็ไม่ค่อยให้ความสำคัญกันมากนัก ถึงแม้ว่าอาการอักเสบของโรคไวรัสตับอักเสบอาจไม่รุนแรง แต่ก็สร้างความเสียหายให้แก่ตับ และอาการอับเสบมีความเรื้อรังก็อาจพัฒนาจนกลายเป็นมะเร็งในตับ หากไม่ได้รับการรักษา
Table of Contents
ไวรัสตับอักเสบบี คืออะไร?
ไวรัสตับอักเสบบี คือ การอักเสบของเซลล์ตับที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBV) ซึ่งการติดเชื้อนี้อาจนำไปสู่โรคร้ายที่เป็นอันตรายต่อตับและชีวิตได้ เช่น ตับวาย ตับแข็ง และมะเร็งตับ โดยเชื้อไวรัสตับอักเสบบี เป็นสาเหตุให้เซลล์ตับตาย (hepatocytes) มีการอักเสบ และเกิดพังผืดในตับ จนนำไปสู่ภาวะตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง และอาจกลายเป็นมะเร็งตับ (hepatocarcinoma) ในที่สุด และเชื้อไวรัสตับอักเสบบี สามารถแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้ง่าย เช่น การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อโดยไม่ได้สวมถุงยางอนามัย
ไวรัสตับอักเสบบี มีกี่ชนิด ?
ไวรัสตับอักเสบบี สามาถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ
แบบเฉียบพลัน (เป็นแล้วหายภายใน 6 เดือน)
เมื่อได้รับเชื้อไปแล้วราว 2 – 3 เดือน จะมีอาการเป็นไข้ เป็นหวัด ปวดเมื่อยตามตัว หลังจากนั้นประมาณ 1 สัปดาห์จะมีอาการตับอักเสบ ตัวเหลือง ตาเหลือง ถ้าตรวจดูจะมีค่า การทำงานของตับสูงกว่าปกติ อาการพวกนี้จะดีขึ้นภายใน 2 – 3 สัปดาห์ หลังจากนั้นร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานขึ้นมา และผู้ป่วยส่วนมาก จะไม่กลับมาเป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีอีก แต่ถ้าภูมิคุ้มกันไม่สามารถจัดการกับเชื้อไวรัสได้ ก็จะกลายเป็นโรคไวรัสตับอักเสบชนิดเรื้อรังซึ่ง อาจส่งผลให้ผู้ป่วยเป็นโรคตับแข็งและมะเร็งตับได้ในที่สุด
แบบเรื้อรัง (เป็นนานกว่า 6 เดือน)
ส่วนมากแล้ว ผู้ป่วยที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีชนิดเรื้อรังมักจะได้รับเชื้อ มาตั้งแต่ยังอยู่ในวัยทารก หรือวัยเด็ก โดยได้รับจากมารดาในช่วงหลังคลอด รวมทั้งได้รับเชื้อจากคนแวดล้อม และสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่อายุยังน้อย ๆ เพราะเด็กเล็กๆมีภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรงดีจึงติดเชื้อง่าย ซึ่งร่างกายยังไม่รู้ว่าเชื้อนี้เป็นเชื้อโรคที่ต้องกำจัด เชื้อจึงเข้าไปอยู่ในตับโดยไม่ถูกต่อต้าน และแพร่พันธุ์ไปเรื่อย ๆ ถ้าตรวจดูเด็ก ๆ พวกนี้จะพบไวรัสเป็นร้อย ๆ ล้าน ๆ ตัวต่อเลือด 1 ซีซี เลยทีเดียว โดยเด็กไม่มีอาการตับอักเสบ ถือเป็นพาหะไวรัสบีเฉยๆ เมื่อเด็กที่ได้รับเชื้อโตขึ้น จำนวนเชื้อไวรัสจะลดลงเรื่อย ๆ เนื่องจาก ภูมิคุ้มกันของร่างกายพัฒนาขึ้น ร่างกายมีการต่อสู้กับเชื้อไวรัสมากขึ้น บางรายโชคดีภูมิต้านทานจัดการไวรัสสำเร็จ ก็หายได้ ขณะที่บางรายเกิด ภาวะตับอักเสบ เป็น ๆ หาย ๆ จนกลายเป็นโรคเรื้อรังขึ้นมาเมื่อโตเป็น ผู้ใหญ่อายุ 20 – 40 ปี
อาการของไวรัสตับอักเสบบี
หลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ผู้ป่วยเด็กประมาณ 10% และ ผู้ใหญ่ประมาณ 30-50% จะมีอาการของโรคไวรัสตับอักเสบบี ในระยะเฉียบพลันได้ในช่วง 1-3 เดือนแรก โดยอาการที่มีจะเป็นๆ หายๆ และอาจคล้ายกับอาการเจ็บป่วยอื่นๆ แต่ที่แสดงออกเด่นชัดก็คือ
- เบื่ออาหาร
- มีไข้ต่ำๆ
- อ่อนเพลีย
- คลื่นไส้อาเจียน
- มีอาการตาเหลือง ตัวเหลือง
- ปัสสาวะเหลืองเข้ม
หากไม่มีภาวะแทรกซ้อน อาการดังกล่าวมักหายได้เอง อย่างไรก็ตามหลังจากระยะนี้ ผู้ป่วยส่วนหนึ่งจะยังมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีต่อไปเป็นเวลามากกว่า 6 เดือน เข้าสู่ระยะเรื้อรัง ซึ่งอาจไม่มีอาการ หรือมีภาวะตับอักเสบเรื้อรังนานจนเกิดตับแข็ง โดยอาจเริ่มมีอาการ เช่น
- ตาเหลือง ตัวเหลือง
- ท้องโต
- เลือดออกในทางเดินอาหารเนื่องจากเส้นเลือดโป่งพอง
- อาการซึม
- ไม่รู้สึกตัว
**ทั้งระยะเฉียบพลัน และระยะเรื้อรัง ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีสามารถแพร่เชื้อผ่านทางเลือดและสารคัดหลั่งได้**
การป้องกันไวรัสตับอักเสบบี
- ตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรตรวจเช็คตับปีละ 1 ครั้ง และตรวจคัดกรองมะเร็งตับเป็นระยะ
- ควรฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันไวรัสตับอักเสบ หากร่างกายยังไม่มีภูมิคุ้มกัน
- ไม่ควรรับประทานยาพร่ำเพรื่อติดต่อกันเป็นเวลานาน หากไม่ได้อยู่ในความดูแลของแพทย์
- งดดื่มแอลกอฮอล์
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พร้อมทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานโรค
- มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่งของผู้ป่วย
การรักษาไวรัสตับอักเสบบี
การรักษาไวรัสตับอักเสบบีในปัจจุบันสามารถยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสบี ทำให้สามารถลดการอักเสบของตับ ชะลอ หรือยับยั้งการดำเนินโรคไปสู่การเป็นตับแข็ง หรือมะเร็งตับ นอกจากนี้การรักษายังสามารถลดภาวะผังผืดในตับทำให้ภาวะตับแข็งดีขึ้นได้ด้วย
โดยแบ่งได้ 3 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มพาหะกลุ่มนี้ไม่มีการอักเสบของตับ แต่เนื่องจากมีโอกาสเป็นมะเร็งตับสูงกว่าคนปกติ จึงควรพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจคัดกรองมะเร็งตับเป็นระยะ
2. กลุ่มที่มีอาการติดเชื้อเฉียบพลัน ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการตัว ตาเหลือง คลื่นไส้ อาเจียน เบื่อ อาหาร แนะนําให้รับประทานอาหารครบทุก หมู่ อาจแบ่งเป็นมื้อเล็กๆ หลายๆ มื้อ ในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อร้อยละ 85-90 มักหาย และมีภูมิคุ้มกัน ส่วนอีกร้อยละ 5-10 จะไม่หายและกลายเป็นพาหะหรือตับอักเสบเรื้อรังต่อไป
3. กลุ่มที่มีภาวะตับอักเสบเรื้อรัง คือค่าเอนไซม์ในตับผิดปกตินานติดต่อกันเกิน 6 เดือน กลุ่มนี้มีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดตับแข็ง และมะเร็งตับได้สูงกว่ากลุ่มอื่นๆ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาการรักษา
การฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบแต่ละสายพันธุ์จะสามารถป้องกันเฉพาะไวรัสสายพันธุ์ที่ฉีดเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอ และวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีรวมในเข็มเดียวกัน โดยสามารถสอบถามรายละเอียดการเข้ารับการฉีดวัคซีนได้ที่ Hugsa Clinic กลางเวียง โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พร้อมให้คำปรึกษา เพื่อให้คุณและครอบครัวของคุณได้ปลอดภัยจากโรคไวรัสตับอักเสบบี
อ่านบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ติดต่อเรา
- สอบถามเพิ่มเติมกับเราที่นี่ Hugsa Clinic
- Line id @hugsaclinic
- โทร 093 309 9988
- เปิดทุกวัน 10:00-18:00 น.
- แผนที่คลินิก https://g.page/hugsa-medical?share
- เว็บไซต์ www.hugsaclinic.com
- จองคิวตรวจออนไลน์ https://hugsa.youcanbook.me