HPV (Human Papilloma Virus) เกิดจากเชื้อไวรัส ฮิวแมน ปาปิลโลมา ไวรัส แพร่กระจายได้ง่ายผ่านการสัมผัสกับเชื้อโดยตรงหรือการมีเพศสัมพันธ์ ปัจจุบันพบว่ามีเชื้อชนิดนี้มากกว่า 100 สายพันธุ์ ซึ่งส่วนใหญ่มักทำให้เกิดหูดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย นอกจากนี้ เชื้อ HPV บางสายพันธุ์อาจเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งชนิดต่าง ๆ HPV จะแยกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

  • HPV สายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดมะเร็ง พบส่วนใหญ่ในเพศหญิง คือ มะเร็งปากมดลูก สำหรับผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนที่มีเชื้อไวรัส HPV เชื้อไวรัส HPV สามารถหลบซ่อนโดยเฉพาะบริเวณเยื่อบุของอวัยวะนั้น ๆ เช่นลำไส้ใหญ่ หรือช่องปาก ก็จะสามารถพัฒนาเกิดเป็นมะเร็งทวารหนัก หรือมะเร็งช่องปากได้
  • HPV สายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงต่ำ กลุ่มนี้อาจจะก่อโรคได้ ที่เรารู้จักหรือได้ยินชื่อกันบ่อย ๆ ก็ได้แก่ โรคหูดหงอนไก่ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งที่บริเวณช่องคลอด อวัยวะเพศชาย ทวารหนัก บริเวณช่องปาก หรือกล่องเสียง

สาเหตุของ HPV

HPV มักติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนัก ปาก หรือการใช้อุปกรณ์เพื่อสนองความต้องการทางเพศร่วมกัน และสามารถแพร่ผ่านรอยแผลหรือรอยขีดข่วนตามผิวหนัง หากมีการสัมผัสผิวหนังหรือสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อจากผู้ป่วย แม้กระทั่งในช่วงที่ผู้ติดเชื้อยังไม่แสดงอาการก็ตาม ส่วนหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้ออาจแพร่เชื้อสู่บุตรระหว่างการคลอดได้ แต่เกิดขึ้นได้ค่อนข้างน้อย

อาการของ HPV

การติดเชื้อ HPV อาจส่งผลให้เกิดหูดในบริเวณต่าง ๆ ทั่วร่างกาย ดังนี้

  • หูดที่อวัยวะเพศ อาจปรากฏเป็นแผลหรือตุ่มเล็ก ๆ คล้ายดอกกะหล่ำ บริเวณปากช่องคลอด ในช่องคลอด ปากมดลูก ทวารหนัก องคชาต หรือถุงอัณฑะ
  • หูดที่มือและนิ้ว มีลักษณะเป็นตุ่มนูนและหยาบกร้าน พบได้บ่อยบริเวณนิ้วมือและฝ่ามือ บางคนอาจรู้สึกเจ็บปวดเมื่อสัมผัส
  • หูดที่ฝ่าเท้า มีลักษณะเป็นตุ่มเล็ก ๆ และแข็ง ในบริเวณส้นเท้า และฝ่าเท้า ที่อาจทำให้รู้สึกไม่สบายเท้าขณะเดิน
  • หูดแบน มีลักษณะเป็นแผลแบนราบกับผิว และมีขอบนูนเล็กน้อย สามารถปรากฏได้ทุกส่วนของร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า

นอกจากนี้ การติดเชื้อ HPV ยังอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งบางชนิด แต่อาจใช้ระยะเวลานานกว่า 20 ปี ขึ้นไปในการพัฒนาเป็นโรคมะเร็ง ซึ่งอาจไม่มีอาการที่ปรากฏออกมาชัดเจน ดังนั้น จึงควรเข้ารับการตรวจคัดกรองเป็นประจำ

ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการรับเชื้อ HPV

  1. ผู้ที่สูบบุหรี่
  2. ผู้ที่มีคู่นอนหลายคน
  3. ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย
  4. ผู้ที่เพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน
  5. ผู้ที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
  6. ผู้ที่ตั้งครรภ์ตั้งแต่อายุน้อย
  7. ผู้ที่มีบุตรจำนวนมาก

การป้องกัน HPV

  • งดการสูบบุหรี่
  • ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย
  • สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
  • ตรวจภายในเช็คมะเร็งปากมดลูก
  • ตรวจหาเชื้อ HPV อย่างน้อยปีละครั้ง
  • ฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV

การรักษา HPV

ปัจจุบัน HPV ไม่มีวิธีรักษาโดยเฉพาะ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะค่อย ๆ กำจัดเชื้อออกไปเอง ส่วนการรักษาความผิดปกติที่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น มะเร็งหรือหูด จะมีวิธีการรักษาแตกต่างกันไปตามลักษณะอาการที่พบ ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดหรือฉายรังสี ซึ่งการตรวจพบและเข้ารับการรักษาตั้งแต่ในขณะที่โรคยังไม่ลุกลามจะช่วยให้ประสิทธิภาพในการรักษาสูงขึ้น

หากคุณกำลังมองหาสถานที่ ตรวจคัดกรอง รักษา หรือฉีดวัคซีนป้องกัน HPV ขอแนะนำที่ ฮักษา คลินิก กลางเวียง  เปิดบริการทุกวัน เวลา 10.00 น. ถึง 18.00 น. เพื่อมอบคุณภาพชีวิตและสุขภาพที่ดีให้กับคุณอย่างคุ้มค่าคุ้มราคา พร้อมบริการด้านการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน

อ่านบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ติดต่อเรา