ไข้หวัดใหญ่ พบได้ในทุกช่วงอายุ แต่อัตราการเสียชีวิตเกิดกับผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 65 ปี หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่นโรคหัวใจ โรคปอด โรคไต เป็นต้น การฉีดวัคซีนเป็นวิธีป้องกันที่ได้ผลมากที่สุด สามารถลดอัตราการติดเชื้อ ลดอัตราการนอนโรงพยาบาล ลดโรคแทรกซ้อน

ไข้หวัดใหญ่คืออะไร ?

ไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส (Influenza virus) ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เชื้ออาจแพร่กระจายอยู่ในอากาศ หรือเจือปนอยู่ในของเหลว คนรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายผ่านประสาทสัมผัสต่าง ๆ อาการของโรคจะมีตั้งแต่อาการเล็กน้อยไปจนถึงอาการที่รุนแรงและเสียชีวิตได้ โรคนี้สามารถพบได้ตลอดปี ระบาดในช่วงเปลี่ยนผ่านฤดูที่มีสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงฉับพลัน โดยเฉพาะในฤดูหนาวและฤดูฝนที่เอื้อต่อการแพร่ระบาดของเชื้อโรค

อาการของไข้หวัดใหญ่

ไข้หวัดใหญ่ที่ไม่มีโรคแทรกซ้อน ระยะฟักตัว 1 – 4 วัน

  • ไข้สูง 39-40 องศา
  • เบื่ออาหาร คลื่นไส้
  • ปวดศีรษะอย่างรุนแรง
  • มีอาการอ่อนเพลียอย่างเฉียบพลัน
  • เจ็บคอ และคอแดง มีน้ำมูกใสๆ ไหล
  • ไอแห้งๆ ตามตัวจะร้อนแดง ตาแดง
  • อาเจียน หรือท้องเดิน เป็นไข้ 2-4 วัน แล้วค่อยๆ ลดลง
  • ปวดตามแขน ขา ปวดข้อ ปวดรอบตา ปวดเมื่อยตามตัว

สำหรับรายที่อาการรุนแรง มักเกิดในผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังอยู่ก่อน

  • พบอาการอักเสบของเยื่อหุ้มหัวใจ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอก เหนื่อย หอบ หรือมีอาการหัวใจวาย
  • ระบบประสาท พบเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ผู้ป่วยจะปวดศีรษะมาก และซึมลง
  • ระบบหายใจ:มีหลอดลมอักเสบและปอดบวม ผู้ป่วยจะแน่นหน้าอก และเหนื่อย
  • โดยทั่วไปไข้หวัดใหญ่มักจะหายในไม่กี่วัน แต่ก็มีผู้ป่วยบางราย มีอาการไอ และปวดตามตัวนานถึง 2 สัปดาห์ ในรายที่เสียชีวิตมักมีอาการปอดบวม และโรคหัวใจ

ไข้หวัดใหญ่แตกต่างจากไข้หวัดธรรมดาอย่างไร ?

เกิดจากเชื้อไวรัสต่างชนิดกัน และมีความรุนแรงแตกต่างกัน โดยไข้หวัดใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza virus) ส่วนไข้หวัดธรรมดานั้นเกิดจากการเชื้อไวรัสชนิดอื่นๆ เช่น rhinovirus, adenovirus เป็นต้น โดยไข้หวัดใหญ่มักจะมีอาการรุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดา และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้

การรักษา ไข้หวัดใหญ่

แพทย์จะจ่ายยาเพื่อรักษาตามอาการที่ป่วย หรือหากมีอาการป่วยเพียงเล็กน้อย สามารถใช้ยารักษาได้ด้วยตนเองภายใต้คำแนะนำของเภสัชกร เช่น ยาลดไข้ ยาแก้หวัด เช็ดตัวลดไข้ และควรนอนหลับพักฟื้นให้เพียงพอ เพราะการป่วยไข้หวัดใหญ่จะทำให้ร่างกายอ่อนล้าและต้องการการพักผ่อนมากกว่าปกติ หากมีอาการน่าสงสัยหรือจัดอยู่ในผู้ป่วยสายพันธุ์อันตราย ผู้ป่วยควรเข้ารับการรักษาอย่างใกล้ชิดจากแพทย์ เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง

โรคไข้หวัดใหญ่ป้องกันได้อย่างไรบ้าง?

  1. ไม่ควรคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไข้หวัด
  2. สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อจำเป็นต้องใกล้ชิดกับผู้ป่วย
  3. ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีผู้คนแออัด และอากาศถ่ายเทไม่ดี
  4. หมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้แอลกอฮอล์เจลทำความสะอาดมือ
  5. ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ช้อนอาหาร ผ้าเช็ดมือ ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว
  6. ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ปีละครั้ง

ผลข้างเคียงของวัคซีนไข้หวัดใหญ่

  • ปวด บวม แดง บริเวณที่ฉีด เกิดภายใน 24-48 ชั่วโมงหลังฉีด แต่อาการจะหายไปเองภายใน 2-7 วัน
  • หลังฉีดบางรายจะมีไข้ต่ำๆ รู้สึกไม่สบายตัว ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ อาจเริ่มมีอาการภายใน 6-12 ชั่วโมง และอาจเป็นนาน 1-2 วัน โดยไม่ต้องรับการรักษา

ทำไมต้องฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปี ?

เนื่องจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดนั้น จะมีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์อยู่เรื่อย ๆ ในการผลิตวัคซีนแต่ละปีจึงมีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ตามเชื้อไวรัสด้วยเช่นกัน และเนื่องจากระยะก่อโรคสั้น จำเป็นต้องมีภูมิคุ้มกันสูงเพียงพอเพื่อเตรียมพร้อมในการป้องกันโรค ดังนั้นจึงต้องฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปี

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ฉีดได้ที่ไหน ?

ในปัจจุบันสามารถป้องกันไข้หวัดใหญ่ได้โดยการ ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่  สามารถเข้ารับบริการได้ที่ ฮักษาคลินิค กลางเวียง เชียงใหม่ โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ท่านได้เข้าถึงการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพ เปิดบริการทุกวัน เวลา 10.00 น. ถึง 18.00 น. สามารถจองคิวการตรวจล่วงหน้าได้ง่าย ๆ ผ่าน Line ID : @hugsaclinic หรือ โทร.093-309-9988

ขอบคุณข้อมูล : pidst

อ่านบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ติดต่อเรา