“การตรวจสุขภาพ” เป็นขั้นตอนสำคัญด้านสาธารณสุขที่คนไทยทุกคนควรได้รับการตรวจ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เป็นขั้นตอนหนึ่งที่แพทย์ปฏิบัติเพื่อใช้ช่วยในการวินิจฉัยโรค เพื่อดูสภาพความสมบูรณ์ของร่างกาย ค้นหาความผิดปกติก่อนที่จะลุกลาม เรื้อรังจนแสดงอาการ และเพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
Table of Contents
ตรวจสุขภาพประจำปี ดีอย่างไร ?
การตรวจสุขภาพประจำปี ไม่เพียงแต่ช่วยค้นหาโรคภัยต่าง ๆ เท่านั้น ข้อมูลจากการตรวจสุขภาพยังสามารถบอกถึง ความแข็งแรง และความสมบูรณ์ของสุขภาพร่างกายในปัจจุบันด้วย และยังเป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนสุขภาพในอนาคต เช่น วางแผนการรับประทานอาหาร ลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ การวางแผนออกกำลังกาย การลดน้ำหนัก การผักผ่อน ซึ่งเป็นการส่งเสริมสุขภาพ และทำให้มีสุขภาพร่างกายที่ดีตามมา
ทำไมต้องตรวจสุขภาพประจำปี ?
- ประเมินความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพต่างๆ
- ตรวจเช็กโรคที่เป็นอยู่และโรคที่ยังไม่แสดงอาการ
- สร้างแรงผลักดันในการดูแลสุขภาพ
- รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคประจำปี
- ประเมินพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพื่อรับแนวทางปรับเปลี่ยนให้มีสุขภาพดียิ่งขึ้น
ประโยชน์การตรวจสุขภาพประจำปี
- วางแผนสุขภาพในอนาคต
- ลดปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรค
- ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง
- มีการติดตาม เฝ้าระวังสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
- หากพบโรคแต่ยังไม่มีอาการ ทำให้ได้รับการรักษาที่เหมาะสม
การตรวจสุขภาพประจำปี ต้องตรวจอะไรบ้าง ?
แต่ละช่วงวัย จะมีการตรวจที่แตกต่างกันเพื่อให้ครอบคลุมโรคที่อาจเกิดขึ้นได้ตามอายุ โดยมีตัวอย่างตามช่วงวัยดังนี้
การตรวจที่แนะนำ
|
ต่ำกว่า 30 ปี | 30-39 ปี | 40-49 ปี | 50-59 ปี | 60 ปีขึ้นไป |
---|---|---|---|---|---|
การซักประวัติทางสุขภาพ สอบถามประวัติการเจ็บป่วยของคนในครอบครัว ประวัติการใช้ยา | ● | ● | ● | ● | ● |
การตรวจเบื้องต้น เช่น การตรวจความดันโลหิต ตรวจหาดัชนีมวลกาย | ● | ● | ● | ● | ● |
ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) ได้แก่ เม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง เกล็ดเลือด เพื่อหาความผิดปกติของของเลือด เช่น ภาวะโลหิตจาง ภูมิคุ้มกันของร่างกาย รวมถึงโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว | ● | ● | ● | ● | ● |
ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (FPG) และน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (HbA1c) เพื่อประเมินความเสี่ยง และคัดกรองโรคเบาหวาน | ● | ● | ● | ● | ● |
ตรวจระดับไขมันในเลือด เพื่อดูระดับคอเลสเตอรอล คอเลสเตอรอลชนิดดี คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี และไตรกลีเซอไรด์ เพื่อประเมินความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง | ● | ● | ● | ● | ● |
ตรวจระดับกรดยูริก เพื่อประเมินความเสี่ยงโรคเก๊าท์ | ● | ● | ● | ● | ● |
ตรวจการทำงานของไต เช่น ครีเอตินิน (creatinine) ซึ่งเป็นของเสียที่เกิดขึ้นจากกล้ามเนื้อ และ ค่า BUN (Blood Urea Nitrogen) ซึ่งเป็นของเสียจากการย่อยสลายโปรตีน ทั้งสองตัวนี้ช่วยเพื่อประเมินความสามารถในการขับของเสียของไต | ● | ● | ● | ● | ● |
ตรวจการทำงานของตับ เป็นการตรวจดูเอ็นไซม์และสารต่างๆ ในเลือด เพื่อหาภาวะตับอักเสบ ภาวะดีซ่าน | ● | ● | ● | ● | ● |
ตรวจไวรัสตับอักเสบ เช่น ไวรัสตับอักเสบบี โดยตรวจจากส่วนประกอบของเชื้อ (HBsAg) และระดับภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ (HBsAb) | ● | ● | ● | ● | ● |
ตรวจปัสสาวะ ช่วยในการวินิจฉัยโรคในระบบทางเดินปัสสาวะเบื้องต้น รวมถึงโรคเบาหวาน | ● | ● | ● | ● | ● |
ตรวจอุจจาระ ช่วยในการวินิจฉัยโรคในระบบทางเดินอาหารเบื้องต้น เช่น ภาวะการอักเสบติดเชื้อในลำไส้ พยาธิ รวมถึงตรวจหาภาวะเลือดปนในอุจจาระซึ่งอาจเกิดจากแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ ริดสีดวงทวาร มะเร็งทางเดินอาหารและลำไส้ | ● | ● | ● | ● | ● |
ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) เป็นการประเมินการทำงานของหัวใจในขณะพัก เพื่อดูความผิดปกติเช่นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ และภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด | ● | ● | ● | ● | ● |
เอกซเรย์ปอด เพื่อดูความผิดปกติในช่องทรวงอก เช่น ขนาดของหัวใจ วัณโรคและโรคต่างๆ ของปอด เช่น โรคปอดเกิดจาก PM 2.5 และ Covid-19 | ● | ● | ● | ● | ● |
ตรวจอัลตราซาวนด์ช่องท้อง ตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะภายใน เช่น ตับอ่อน ม้าม ตับ ไต รวมถึงมดลูกและรังไข่ในผู้หญิงและต่อมลูกหมากในผู้ชาย | ● | ● | ● | ● | ● |
ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ เช่น TSH และ Free T4 | ● | ● | ● | ||
ตรวจสุขภาพหัวใจด้วยการวิ่งสายพาน (EST: Exercise Stress Test) เพื่อตรวจคัดกรองว่ามี เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ หรือไม่ขณะออกแรงและช่วยหาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะจากการออกกำลังกาย (ควรงดอาหารมื้อหนักๆ ก่อนทำการตรวจประมาณ 4 ชั่วโมง) | ● | ● | ● | ||
การตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram : ECHO) เพื่อดูการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ , ขนาดของห้องหัวใจ , การไหลเวียนเลือดในหัวใจ สามารถใช้วินิจฉัยโรคหัวใจแต่กำเนิด, โรคลิ้นหัวใจพิการ, โรคกล้ามเนื้อหัวใจพิการ, โรคของเยื่อหุ้มหัวใจ (ไม่ต้องงดน้ำและอาหาร) | ● | ● | ● | ||
การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งทางเดินอาหาร (CEA) การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งตับ (AFP) | ● | ● | ● | ● | ● |
สารบ่งชี้มะเร็งตับอ่อน ท่อน้ำดี ถุงน้ำดี (CA19-9) | ● | ● | |||
สารบ่งชี้มะเร็งเต้านม (CA15-3) และมะเร็งรังไข่ (CA125) ในสตรี | ● | ● | |||
สารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA) ในสุภาพบุรุษ | ● | ● | |||
ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยการตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear หรือ Pap Test) เพื่อดูความผิดปกติของเซลล์และการตรวจหาเชื้อไวรัสมะเร็งปากมดลูก แนะนำในสตรีทุกคนที่อายุตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป หรือ 3 ปีหลังจากมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก หลังจากนั้นทำการตรวจทุก 1-2 ปี ส่วนสตรีที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป ควรตรวจทุกปี หากผลตรวจเป็นปกติติดต่อกัน 3 ปี สามารถตรวจทุก 3 ปีได้ ยกเว้นกลุ่มที่มีความเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูก เช่น มีการติดเชื้อไวรัสเอช พี วี (HPV) | ● | ● | ● | ● | ● |
การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรมพร้อมอัลตราซาวน์เต้านมทุก 1-2 ปี เพราะมะเร็งเต้านมเป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งของผู้หญิงไทย แนะนำให้ตรวจในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป | ● | ● | ● | ||
Carotid Duplex Ultrasound การตรวจหลอดเลือดใหญ่ที่คอ (Common Carotid Artery) ที่ไปเลี้ยงสมองด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อตรวจดูการไหลเวียนเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง และคราบหินปูนหรือคราบไขมัน (Plaque) ที่เกาะอยู่ภายในหลอดเลือด เพื่อดูความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือตัน | ● | ● | ● | ||
การส่องกล้องคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ ด้วยเทคนิคที่ NBI (Narrow Band Image) ที่สามารถตัดติ่งเนื้อที่สงสัยว่าจะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ผ่านกล้องได้ในทันที โดยไม่ต้องเปิดหน้าท้อง ช่วยลดความเสี่ยงจากการผ่าตัด ลดระยะเวลาการอยู่รักษาตัวในโรงพยาบาล ฟื้นตัวได้เร็ว ลดภาวะแทรกซ้อน ปลอดภัย และที่สำคัญไม่มีแผลเป็นที่จะทำให้ต้องกังวลใจ | 45 ปีขึ้นไป สามารถ ตรวจได้ |
● | ● |
ตรวจสุขภาพประจำปี เตรียมตัวอย่างไร ?
- งดอาหารและเครื่องดื่ม อย่างน้อย 8-10 ชั่วโมงก่อนตรวจ (สามารถจิบน้ำเปล่าได้เล็กน้อย)
- งดดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนตรวจสุขภาพ เนื่องจากแอลกอฮอล์อาจมีผลต่อการตรวจบางอย่าง
- หากมีโรคประจำตัวหรือประวัติสุขภาพอื่นๆ กรุณานำผลการตรวจหรือรายงานจากแพทย์มาเพื่อประกอบการวินิจฉัย
- หากกำลังรับประทานยาเพื่อควบคุมความดันโลหิต สามารถรับประทานต่อได้ตามที่แพทย์แนะนำ
- สำหรับสุภาพสตรี ไม่ควรอยู่ในช่วงก่อนและหลังมีประจำเดือน 7 วัน หากมีประจำเดือนให้งดตรวจปัสสาวะ เพราะเลือดจะปนเปื้อนในปัสสาวะ มีผลต่อการแปลผลการตรวจ
- พักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6 – 8 ชั่วโมง หากอดนอนจะทำให้ผลการตรวจผิดปกติได้ โดยเฉพาะค่าความดันโลหิต การเต้นของหัวใจ และอุณหภูมิของร่างกาย
ใครบ้างที่ควรตรวจสุขภาพประจำปี
ความจริงแล้ว การตรวจสุขภาพประจำปี สำคัญสำหรับทุกคน เนื่องจากเป็นวิธีที่จะทำให้เราได้รู้จักร่างกายของตนเองว่ามีจุดบกพร่องตรงจุดไหนหรือไม่ หากมีเราจะสามารถรักษาได้ทันเวลา โดยปกติแล้วการตรวจร่างกายควรจะเริ่มตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป แต่ในกรณีที่มีความสงสัยว่าตนเองมีความเสี่ยงโรค ก็สามารถเข้ารับการตรวจได้ทันทีเช่นกัน เพราะบางโรคต้องพึ่งเวลาในการรักษาที่รวดเร็ว
ตรวจสุขภาพประจำปี เชียงใหม่ ได้ที่ไหน ?
เราทุกคนควรได้รับ “การตรวจสุขภาพประจำปี” อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง การดูแลตัวเองที่มีประสิทธิภาพ คือ การป้องกันก่อนที่จะเกิดโรค ด้วยการตรวจสุขภาพประจำปี ที่จะสามารถทำให้พบเจอสิ่งผิดปกติในร่างกายได้ก่อนที่จะลุกลามจนยากเกินรักษาได้ สำหรับชาวเชียงใหม่ ที่ต้องการตรวจสุขภาพประจำปี สามารถเข้ารับการตรวจได้ที่ ฮักษาคลินิค กลางเวียง เชียงใหม่ ให้บริการโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ที่ได้รับวุฒิบัตรรับรองจากสถาบันทางการแพทย์ในประเทศและต่างประเทศ พร้อมให้บริการตรวจโรคทั่วไปต่าง ๆ อย่างครบวงจร วินิจฉัยรวดเร็วและเป็นกันเอง
“การตรวจสุขภาพประจำปี ถือเป็นการวางแผนสุขภาพในอนาคต หากพบเจอความเสี่ยง สามารถรับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการป้องกัน ดูแลและช่วยให้ร่างกายแข็งแรง”
ขอบคุณข้อมูล : samitivejchinatown
อ่านบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ติดต่อเรา
- สอบถามเพิ่มเติมกับเราที่นี่ Hugsa Clinic
- Line id @hugsaclinic
- โทร 093 309 9988
- เปิดทุกวัน 10:00-18:00 น.
- แผนที่คลินิก https://g.page/hugsa-medical?share
- เว็บไซต์ www.hugsaclinic.com
- จองคิวตรวจออนไลน์ https://hugsa.youcanbook.me